คุณกำลังอ่าน
จ.บึงกาฬ ขอความร่วมมือ ปชช. ชะลอเดินทางข้ามจังหวัด กลับจากพื้นที่เสี่ยงต้องได้รับอนุญาต

ประชาสัมพันธ์
จ.บึงกาฬ ขอความร่วมมือ ปชช. ชะลอเดินทางข้ามจังหวัด กลับจากพื้นที่เสี่ยงต้องได้รับอนุญาต
องค์การบริหารส่วนตำบลคำนาดี
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2563
จังหวัดบึงกาฬ ออกคำสั่งที่ 1088/2563 เรื่อง มาตรการฝระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออันตราย และดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดบึงกาพ กำหนดให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด
ตามที่มาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของจังหวัดบึงกาฬสิ้นสุดลงตามคำสั่งจังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 30 เมษายน 2563 และนายกรัฐมนตรีได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 4) ให้คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิมจนกว่าจะได้มีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น และผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬได้มีคำสั่งปิดสถานที่ซึ่งยังมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค และกำหนด
มาตรการผ่อนคลายการดำเนินการหรือกิจกรรมบางอย่างได้ไปแล้ว และข้อ 5 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 5) กำหนดให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว นั้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดบึงกาฬ โดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบึงกาฬ จึงออกคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เว้นแต่ มีความจำเป็นซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ จะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ 2 บุคคลที่เดินทางเข้า-ออก ในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ในกิจการหรือกิจกรรม ดังต่อไปนี้ไม่ต้องขออนุญาตเข้า-ออก แต่ต้องแสดงหลักฐานที่เกี่ยวกับกิจการหรือกิจกรรมดังกล่าว และต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
- การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือเจ้าหนัที่ตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
- การสาธารณสุข ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์และผู้ดูแลบุคคลดังกล่าว หรือแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเดินทางเพื่อปฏิบัติงาน
- การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณียภัณฑ์ หนังสือพิมพ์
- การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งหรือขนย้ายประชาชนไปสู่สถานที่เฝ้าระวัง หรือกักกันโรค ตามที่ทางราชการกำหนด
- การบริการหรือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ได้แก่ ผู้บริการตรวจสอบ หรือซ่อมบำรุงไฟฟ้า ประปา ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผู้บริการจัดเก็บ และกำจัดขยะ มูลฝอย ผู้บริการซ่อมแชมและปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรคมนาคม ผู้บริการด้านธนาคาร การกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ หรือกิจกรรมอื่นใดในทำนองเดียวกัน
ข้อ 3 บุคคลทั่วไปที่มีภูมิลำเนาและพักอาศัยในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬอยู่ก่อนแล้ว หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดบึงกาฬ ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออกพื้นที่จังหวัด และไม่ได้มีประวัติการเดินทางไปยังหรือมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้บคคลนั้นเดินทางเข้า-ออก ในพื้นที่จังหวัดได้โดยไม่ต้องมีการขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ 4 บุคคลทั่วไปที่ไม่มีภูมิลำเนาหรือไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ หรือมีภูมิลำเนาแต่ไม่ได้อยู่อาศัยในจังหวัดบึงกาฬ หรือไม่ได้เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดบึงกาฬ ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออก พื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ให้ปฏิบัติดังนี้
- กรณีเดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัด ต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตจากนายอำเภอท้องที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่ด่านตรวจคัดกรองตั้งอยู่ และต้องผ่านการตรวจคัดกรอง สอบสวนโรคปฏิบัติตามคำแนะนำ มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
หากบุคคลนั้นไม่ผ่านการตรวจคัดกรอง หรือมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือประกอบอาชีพเสี่ยง หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ให้เจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจส่งบุคคลนั้นไปยังสถานที่ที่จังหวัดกำหนดเพื่อตรวจคัดกรองต่อไป
- กรณีเดินทางออกจากพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ไม่ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ แต่ต้องได้รับการตรวจคัดกรอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2563 เป็นตันไป
สั่ง ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
